ประวัติความเป็นมา
ตราสัญลักษณ์
บ้านสงเปือย จังหวัดยโสธร อยู่ห่างจากตัวเมืองยโสธร 25 กิโลเมตร ตามเส้นทางยโสธร-คำเขื่อนแก้ว-อุบลราชธานี โดยทางหลวงหมายเลข 23 จะมีทางแยกขวาเข้าไปอีกราว 10 กิโลเมตร
สิ่งสำคัญและปูชนียสถานที่น่าสนใจ มีดังนี้
พระพุทธรูปใหญ่
เป็นพระประธานในอุโบสถวัดสงเปือยมีขนาดหน้าตักกว้าง 3 เมตร สูง 8 เมตร เป็นพระพุทธรูปปั้นด้วยอิฐปูน มีอายุไม่น้อยกว่า 200 ปี เป็นที่สักการะของประชาชนในท้องถิ่นถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง
เจดีย์บรรจุดินจากสังเวชนียสถา เดิมเป็นเจดีย์เก่าแก่อายุประมาณ 200 ปีขึ้นไป ในปี พ.ศ. 2498 ได้ต่อเติมขึ้นใหม่ โดยเงินทุนของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม พระปลัดเขียน อัมมาพันธ์ นำดินจากสังเวชนียสถาน 4 ตำบล คือ ที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน จากประเทศอินเดียมาบรรจุไว้
รอยพระพุทธบาทจำลอง
จัดสร้างโดยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม และท่านผู้หญิง ในวันสงกรานต์ของทุกปีมีประชาชนในท้องถิ่นมาสรงน้ำเป็นจำนวนมาก
พิพิธภัณฑ์ของโบราณ
เป็นสถานที่รวบรวมของโบราณซึ่งเก็บและขุดมาได้จากดงเมืองเตยเมืองเก่าสมัยขอม ในพิพิธภัณฑ์นี้มีเตียงบรรทมเจ้าเมือง ( เป็นศิลา ) และศิลาจารึก สันนิษฐานว่าเป็นอักษรขอมโบราณ
ซากเมืองโบราณดงเมืองเตย
อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านสงเปือย ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นสถานที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของอำเภอคำเขื่อนแก้ว ภายในบริเวณดงเมืองเตยมีซากวัด สระน้ำกำแพงเมือง ซึ่งปัจจุบันได้ชำรุดลงไปมากแล้ว แต่ยังมีเค้าโครงเดิม พอจะสันนิษฐานได้ว่าเดิมเป็นที่ตั้งขอชุมชนโบราณสมัยเจนะทวารวดี ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 จากข้อความที่พบในจารึกของกษัตริย์เจนละแสดงว่าโบราณสถานแห่งนี้สร้างขึ้นเป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ที่นับถือพระศิวะ ในช่วงเวลานั้น บริเวณดงเมืองเตย รวมทั้งชุมชนใกล้เคียงก็คงจะเคยเป็นเมืองที่มีชื่อว่า “ศังขะปุระ” ซึ่งคงจะมีความสัมพันธ์ในฐานะเมืองในปกครองของอาณาจักรเจนละ ซึ่งก็คือ อาณาจักรขอม ในสมัยต่อมาที่แผ่อำนาจเข้ามาในเขตลุ่มแม่น้ำมูล-ชี ในช่วงเวลาดังกล่าว
https://www.songpuai.go.th/local-development-plan/about-us/history#sigProGalleria379a432522